ประโยชน์ของการอบสมุนไพร

  • ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
  • ช่วยบรรเทาอาการหอบหืดเรื้อรังทำให้ปอดขยายตัวได้ดี ระบบหายใจปลอดโปร่ง มีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่อึดอัด
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง เพราะเส้นโลหิตจะขยายออกทำให้โลหิตไหลเวียนสะดวก ผิวพรรณจึงผุดผ่อง เปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด
  • ช่วยให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น
  • ทำให้มดลูกของมารดาหลังคลอดเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา ทำให้มารดาหลังคลอดสุขภาพดีขึ้น
  • ช่วยแก้อาการเหน็บชา อาการชาตามปลายเท้า ปลายนิ้วมือ แขน และขา
  • บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้น และเอ็นให้เบาบางลง จนกระทั่งเป็นปกติ
  • ลดไขมันส่วนเกินของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้อง และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ข้อห้าม ข้อควรระวังในการอบสมุนไพร

  1. ขณะมีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เพราะอาจมีการติดเชื้อโรคต่าง ๆ
  2. โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด
  3. มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ในรายที่มีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท และต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท(อาจให้อบได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ แต่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด)
  4. สตรีขณะมีประจำเดือนร่วมกับอาการมีไข้ และปวดศีรษะร่วมด้วย
  5. มีการอักเสบจากบาดแผลต่าง ๆ
  6. อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ
  7. ปวดศีรษะชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
  8. ควรอบในอุณหภูมิประมาณ 40-60องศาเซลเซส และระยะเวลา ประมาณ 10-15 นาที/ครั้ง(อาจใช้เวลานานกว่านี้ได้ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยการอบต่อเนื่อง 15 นาที ออกนั่งพัก แล้วอบต่อเป็นเวลา15 นาที ประมาณ 4 ครั้ง)

จะเห็นได้ว่าคุณประโยชน์ในการอบสมุนไพรนั้นมีมากมาย การอบสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้ เหมาะสมต่อผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย แต่พึงอย่าลืมว่า การอบสมุนไพรไม่สามารถทดแทนการออกกำลังกายได้ ตู้อบสมุนไพรไอน้ำนั้นสามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์สปา ทั้งนี้ควรต้องศึกษาวิธีการใช้และการดูแลรักษาด้วย