สปามีความหมายที่หลากหลายมากในประเทศไทยดังนั้นจึงได้แบ่งลักษณะของสปาออกเป็น 3 ลักษณะโดยยึดตามแนวองค์ความรู้ได้แก่

  1. สปาตะวันตกได้แก่สถานบริการทางสุขภาพที่ใช้น้ำเป็นหลักโดยมีมาตรฐานการให้บริการตามแบบประเทศตะวันตกเช่นการใช้อ่างน้ำวนการนวดแบบตะวันตกประเทศต่างๆการอบซาวน่าใช้ไอน้ำแบบฝรั่งมีการออกกำลังกายโดยใช้เครื่องมือเป็นต้น
  2. Thai Spa เป็นสถานบริการทางสุขภาพที่ใช้น้ำเป็นหลักมีมาตรฐานการให้บริการแนวเดียวกันกับประเทศตะวันตกแต่จะมีการประยุกต์นำเอาภูมิปัญญาทางตะวันออกและภูมิปัญญาไทยเข้าไปสู่สถานบริการในที่ดังกล่าวด้วย
  3. ไทยสัปปายะเป็นสถานที่บริการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยเป็นหลักซึ่งชาวไทยมีชีวิตอยู่กับสายน้ำการดำรงชีวิตด้วยสายน้ำเรามีน้ำตกมีน้ำพุร้อนลำธารน้ำทะเลและยังมีภูมิปัญญาที่โดดเด่นเช่นการนวดไทยการใช้ลูกประคบการอบสมุนไพรการใช้เครื่องรั่มไทยสมุนไพรไทยอาหารไทยผลไม้ไทยและดนตรีไทยซึ่งคงความเป็นศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีไทยอย่างชัดเจนจะมีบริการที่ใช้น้ำหรือไม่ก็ได้โดยจะเน้นวิธีธรรมชาติเป็นหลักนอกจากนี้ยังแบ่งระดับการรักษาโรคออกเป็น 2 ประเภทได้แก่สปาเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสปาเพื่อการบำบัดรักษาโรค

ประโยชน์จากการบำบัดนวดด้วยความหอมสดชื่นจากน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ที่ช่วยเพิ่มพลังชีวิตการใช้แบบคุณสมบัติเฉพาะตัวหรือส่วนผสมจากน้ำมันหอมระเหยในแต่ละชนิดมารวมกันจะช่วยปรับสมดุลของระบบไหลเวียนโลหิตป้องกันการติดเชื้อจุลินทรีย์บรรเทาอาการเมื่อยล้าและผ่อนคลายลดภาวะความตึงเครียดในระบบประสาทและหนักอันเนื่องเกิดจากการทำงานหนักในชีวิตประจำวัน ความวิตกกังวลจะลดลงส่งผลให้เกิดความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าในร่างกายความหอมที่บุคลิกเฉพาะกลิ่นนั้นสรรพคุณของกลิ่นน้ำมันหอมระเหย นั้นสามารถบำบัดรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยเฉพาะอย่างได้เพื่อเป็นการปรนนิบัติและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้ร่างกาย

อุปกรณ์สปาหรือเครื่องมือในโหมดของการทำสปา ได้แก่  เตียงนวดไทย เก้าอี้นวดเท้า  เบาะนวดไทย ตู้อบสมุนไพรไอน้ำ หลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้วควรจะมีการล้างทำความสะอาดเพราะส่วนใหญ่อุปกรณ์สปา มีการ สัมผัสโดยตรงกับลูกค้า จึงต้องมีการทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายและการสะสมของเชื้อโรค