ข้อควรรู้และข้อควรปฏิบัติในการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า
การนวดเท้าช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น จะช่วยให้ร่างกายทำของเสียออกได้เร็วขึ้นเช่นกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกลำลังกาย นอนไม่หลับ นอนดึก เป็นภูมิแพ้บ่อย คัน เลือดข้น มือเท้าชาหรือมีปัญหาสุขภาพจนเดินเหินลำบาก ซึ่งเป็นกลุ่มอาการเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อนนั่นเอง นอกจากการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อรักษาโรคแล้ว การเดินด้วยเท้าเปล่าวันละ 15-30 นาที จะกระตุ้นอวัยวะในร่างกายให้เลือดลมเดินได้ดี แต่หากป่วยแล้วผมแนะนำให้ใช้ยาสมุนไพรการปรับพฤติกรรมร่วมกับการนวดกระตุ้นฝ่าเท้าจะ ทำให้ลดเวลาในการรักษาและกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากเลยทีเดียว
ข้อปฏิบัติในการนวด
- ก่อนทำการนวดฝ่าเท้า ให้ทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่ น้ำอุ่นหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ทุกครั้งและต้องนั่งนวดบนเก้าอี้นวดฝ่าเท้าที่สามารถปรับเอนรองรับสระรีของเราได้
- การนวดเท้าจะเริ่มต้นที่เท้าซ้ายก่อน เนื่องจากเป็นตำแหน่งของหัวใจ เพื่อกระตุ้นการ ไหลเวียนเลือด
- ในขณะนวดผู้นวดจะต้องโยกตัวตามจังหวะการลงน้ำหนัก การกด หรือการครูดแต่ละครั้ง เพื่อช่วยไม่ให้เกิดการปวดตามร่างกายของผู้นวด
- การกดจุดตามตำแหน่งจุดต่าง ๆ ควรหน่วง เน้น นิ่ง นับ 1-10
- ระหว่างการนวด ควรชะโลมครีมเป็นระยะ เพื่อการหล่อลื่นในการสัมผัส
- เท้าด้านใน หมายถึง บริเวณด้านข้างฝ่าเท้าด้านนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนเท้าด้านนอก หมายถึง บริเวณด้านข้างฝ่าเท้าด้านนิ้วก้อย
ข้อควรปฏิบัติการนวดของผู้ถูกนวด
- ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพรหลังจากการนวด เพื่อขับของเสียในร่างกาย
- ไม่ควรอาบน้ำ สระผม ดื่มน้ำเย็น หรือล้างทันทีหลังนวด ควรรออย่างน้อย 1 ชม.
ไม่ควรนวดเท้าในกรณี ดังนี้
- หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ควรรอประมาณครึ่งชั่วโมงไปแล้ว
- ร่างกายอ่อนเพลียมาก หรือเป็นไข้
- หญิงตั้งครรภ์
- ขณะมีประจำเดือน
- โรคหลอดเลือด/ หลอดน้ำเหลืองอักเสบหรืออุดตัน
การเตรียมเท้าก่อนการนวด
- ทำความสะอาดเท้าของผู้ถูกนวด
- ใช้ผ้าขนหนูพันห่อเท้าข้างขวาของผู้ถูกนวดก่อน (การห่อฝ่าเท้าเพื่อทำให้บริเวณเท้ามีความอบอุ่น และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี)
- เริ่มขั้นตอนในการนวด โดยการนวดเท้าซ้ายก่อนเสมอ